สมุนไพรชนิดนี้มีมาแต่โบราณ ในอดีตน้อยคนนักที่จะรู้จักสมุนไพรชนิดนี้ แต่ในปัจจุบันนั้น นิยมทำเป็นยาชนิดแคปซูล ทานเพื่อบำรุงร่างกาย และรักษาโรคบางชนิด จึงทำให้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสรรพคุณในเรื่องของการล้างสารพิษ หรือสารอันตรายอื่นๆ ที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย
ประโยชน์ที่เด่นชัดของสมุนไพร รางจืด
รางจืด เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่สามารถช่วยแก้พิษ หรือถอนพิษ จากสารอันตรายต่างๆ รวมถึงจากสัตว์ที่มีพิษได้ดี เช่นปลาปักเป้า หรือแมงดาทะเล เป็นต้น โดยเคยมีการทดลองกับผู้ที่โดนพิษจากการรับประทานเนื้อปลาปักเป้า ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับพิษ มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 40 นาที ทั้งที่โดยปกติพิษชนิดนี้ จะสามารถทานยาเพื่อประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลง และรอให้ร่างกายขับพิษออกด้วยกระบวนการตามธรรมชาติเท่านั้น ส่งผลให้สามารถต่อต้านมะเร็งได้ดี โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุรา
นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในผู้ที่ได้รับพิษจากสัตว์ต่าง ทำให้ผิวหนังมีอาการบวม อักเสบ หรือพุพอง โดยใช้ใบของต้นรางจืดนำไปโขลก หรือบดให้ละเอียด แต่ไม่ต้องถึงกับละเอียดยิบ ผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาพอกบริเวณที่มีบาดแผล จะสามารถชะลอการไหลเวียนของพิษในการเข้าสู่กระแสเลือดได้ จากนั้นรีบส่งแพทย์โดยเร็ว
วิธีใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดนี้
- สำหรับคนทั่วไปให้ใช้ประมาณ 10 – 12 ใบเท่านั้น แต่หากใช้กับสัตว์ให้ใช้ประมาณ 15 – 20 ใบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของสัตว์
- นำใบรางจืดที่ได้มาตำ โขลก หรือบดให้ละเอียดยิบ จากนั้นนำมาผสมกับน้ำซาวข้าวให้ได้ปริมาณครึ่งแก้ว
- ควรดื่มทันทีที่มีอาการ และดื่มซ้ำอีกครั้งภายในครึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้สมุนไพรสามารถล้างสารพิษที่ตกค้าง หรือหลงเหลืออยู่ ออกจากร่างกายให้หมด
เกร็ดความรู้
- สมุนไพรรางจืดนี้ ได้ขนานนามว่า “ราชาแห่งการถอนพิษ” และยังเป็นสมุรไพร ที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกกันเป็นจำนวนมากอีกด้วย
- ยาฆ่าหญ้า หรือยาที่มีไว้เพื่อกำจัดวัชพืช จำนวนเพียง 1 ช้อนชา ก็สามารถทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้แล้ว เนื่องจากจะเข้าไปทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกาย ให้ปรวนแปร ไม่คงที่นั่นเอง ดังนั้นหากได้รับสารเคมีชนิดนี้ ให้รีบดื่มน้ำรางจืดทันทีที่ทราบ หรือมีอาการ
- สำหรับผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำ ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เนื่องจาก จะไปล้างเอาตัวยาในร่างกายออกมาหมด ทำให้ตัวยานั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา
รากขอต้นรางจืดมีสรรพคุณมากกว่าใบถึง 7 เท่า หากเป็นไปได้ควรใช้รากแทนใบ เนื่องจากให้ตัวยาที่มากกว่า