ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร วิธีการรักษาสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ต้องใช้ระยะเวลานานขนาดไหน

เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานเป็นพนักออฟฟิตในตำแหน่งต่างๆหรือผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมเป็นระยะเวลานานๆ น่าจะเคยรู้สึกผิดปกติหรือปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งหลายคนเข้าใจว่ามันเป็นเพียงอาการอ่อนล้าจากการทำงานเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่เพียงอาการอ่อนล้าเพียงอย่าเดียวเท่านั้น เพราะหากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาหารเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่า ออฟฟิตซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร

ออฟฟิตซินโดรมคืออะไร?

ออฟฟิตซินโดรม คือ หนึ่งในอาการยอดฮิตของผู้คนวัยทำงานในสมัยนี้ สาเหตุหลักของอาการนี้คือการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ชอบนั่งหลังค่อม ก้มมองจอคอมพิวเตอร์บ่อยครั้ง หรือทำงานติดต่อกันนานเกิน 5 – 6 ชั่วโมง สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาการออฟฟิตซินโดรมทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาการของออฟฟิตซินโดรมจะแบ่งออกเป็นหลายช่วงด้วยกัน

อาการในแต่ละช่วงของออฟฟิตซินโดรม

ในช่วงแรกนั้นอาหารจะคล้ายกับอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งจะมีอาการปวดที่บริเวณ คอ บ่า หลัง และไหล่เป็นสำคัญ โดยในช่วงนี้คุณสามารถรักษาด้วยวิธีง่ายๆอย่างการนวดคลายกล้ามเนื้อให้ตรงจุดและถูกต้องจะช่วยผ่อนคลายให้อาการดีขึ้นได้ แต่ที่หลายคนไม่ยอมหายจากอาการในช่วงแรกได้นั้นเพราะคิดว่าการนวดเพียงอย่างเดียวคงจะเพียงพอ จึงกลับไปมีพฤติกรรมหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ จนส่งผลให้เกิดอาการออฟฟิตซินโดรมช่วงต่อมา คือ เริ่มรู้สึกปวดตามจุดต่างๆมากยิ่งขึ้น เมื่อขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายรู้สึกถึงอาการเจ็บปวดที่มากขึ้น ในช่วงอาการนี้ร่างกายกำลังจะบ่งบอกกับคุณสามควรจะพักผ่อนให้มากขึ้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระหว่างนั่งทำงานโดยด่วน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์เพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ

อาการออฟฟิตซินโดรมที่รุนแรงจะมีลักษณะอย่างไร

ข้อควรระวังสำหรับอาการออฟฟิตซินโดรมก็คือหากเกิดอาการในช่วงดังกล่าวไม่ควรปล่อยปะละเลยอย่างเด็ดขาด เพราะหากส่งผลต่อระบบประสาทต่างๆ อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ นิ้วล๊อค เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะส่งผลให้คุณไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนต้องพักงานยาว

สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการออฟฟิตซินโดรม

นอกจากพฤติกรรมหรือสถาพร่างกายที่จะส่งผลให้เกิดอาการนี้ด้วยแล้ว ยังรวมไปถึงสภาวะความเครียดต่างๆ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และความวิตกกังวลต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล่วยเป็นสาเหตุของอาการออฟฟิตซินโดรมโดยที่คุณไม่รู้ตัว

วิธีการรักษาอาการออฟฟิตซินโดรม

สิ่งที่จะช่วยรักษาอาการออฟฟิตซินโดรมที่ได้สุดนั้น คือการป้องกันเพื่อไม่ให้อาการเกิดขึ้นและกำเริบไปมากกว่าปกติ ในขณะทำงานหากรู้สึกปวดเมื่อยควรพักเพื่อเดินไปดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ หรือกายบริเวณเบาๆที่บริเวณบ่า แขน เอว และแผ่นหลังเป็นเวลาอย่างน้อย 5 – 10 นาที โดยเมื่อทำอย่างเป็นประจำจะพบว่าอาการต่างจะดีขึ้นภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอและหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของตนเองซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้อาการออฟฟิตซินโดรมหายขาดได้