ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) คืออะไร สาเหตุการเกิดโรคนี้มาจากไหน วิธีการป้องกันสามารถทำได้อย่างไร

ไทรอยด์ถือว่าเป็นโรคร้ายโรคหนึ่งที่ควรจะพึงระวังอยู่เสมอ เพราะแม้ว่าจะไม่ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตในทันทีแต่มันส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายทำงาน เนื่องจากต่อมไทรอยด์นั้นมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ โดยถือว่าเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมไปถึงส่วนของจิตใจ ความคิด ประสาทและสมองอีกด้วย โดยโรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์นั้นมีด้วยกันหลายอาการ แต่หนึ่งในอาการไทรอยด์ที่พบเจอได้บ่อยที่สุดโดยเฉพาะในกลุ่มสุภาพสตรีก็คือ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid)

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) คืออะไร

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) มีสาเหตุมาจากอะไร

สำหรับไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) คือสภาวะของต่อมไทรอยด์ที่เกิดความผิดปกติ โดยไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งต่อมไทรอยด์ส่วนนี้จะอยู่ที่บริเวณส่วนหน้าด้านล่างของลำคอ ไทรอยด์ส่วนนี้มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของระบบหัวใจ การทำงานของระบบสมอง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบพลังงานต่างๆในเซลล์ร่างกาย และที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ระบบเผาผลาญหรือเมตทาบอริซึ่มของร่างกายนั่นเอง  

ซึ่งความผิดปกตินี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรมโดยหากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการดังกล่าวจะทำให้พบเจอได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง โรคเบาหวาน ความผิดปกติของภูมิคุ้มที่เข้ามากัดกินต่อมไทรอยด์ให้เกิดความเสียหาย แต่จะพบเจอได้มากที่สุดในเพศหญิงหรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

อาการของไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid)

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) นั้นมักจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น น้ำหนักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่สดชื่น มีอาการซึมเศร้า มักรู้สึกหนาวง่ายและไม่ชอบอากาศเย็น ผิวและผมแห้ง มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บวมน้ำและท้องผูกเป็นประจำ

โดยอาการนั้นจะยิ่งแสดงผลอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆและหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เสียงแหบเสียงแห้ง เป็นโรคเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงสูงอายุมักจะมีอาการขี้หลงขี้ลืม แต่สำหรับคุณผู้หญิงอาจจะทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือมามากกว่าปกติ มีลูกยาก และมีความต้องการทางเพศน้อยลง

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid)

จากการวินิจฉัยของแพทย์โดยส่วนมากแล้วอาการไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) มักจะเกิดขึ้นจากการขาดสารไอโอดีน ฉะนั้นคุณจึงควรเพิ่มธาตุไอโอดีนให้เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันนั้นสามารถหารับประทานได้จาก น้ำปลา เกลือ ซองปรุงรส หรืออาหารทะเลต่างๆ สำหรับเด็กเล็กควรทำการตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของไทรอยด์หรือระบบการทำงานอื่นๆขอร่างกายให้ครบถ้วน เพื่อให้สามารถรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับท่านที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปถืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรจะตรวจสุขภาพและตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบไทรอยด์และโรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid) โดยเฉพาะ เพื่อหาความเสี่ยงและช่วยให้รักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น